24 ตุลาคม 2024

เปิด 5 ตำแหน่งงานยอดฮิต! ประจำปี 2566 แนะแนวทางเตรียมตัวเลือกสายงานที่ชอบ

0

เปิดชุดทักษะแรงงานในอนาคต (Future Workforce) ที่กำลังมาแรง พบ 5 ด้านที่เป็นที่ต้องการสูงสุดในปีนี้ ดร.ไอซ์  วริศ ลิ้มลาวัลย์  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้ถ่ายทอดจากประสบการณ์ที่บริษัทเอกชนต่างๆ ติดต่อมาเพื่อต้องการรับสมัครคนใน Fields ต่างๆ ในปี 2566 ว่ามีสายงานที่น่าสนใจดังนี้

1.สายงานนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ‘Data Scientist’ หรือ ‘Business Intelligence’ เป็นสายงานที่มีความต้องการจากภาคเอกชนสูงมาก เนื่องจากงานด้านข้อมูลเป็นกลุ่มทักษะที่สำคัญเพราะองค์กรต่างๆ ต้องการความได้เปรียบจากการจัดการข้อมูลและเอาข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผ่าน Dashboard เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารยุคใหม่

2.สายงาน ‘Digital Marketing’ สายงานด้านการตลาดดิจิทัลเป็นสายงานหลักของเกือบทุกองค์กรเพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยไม่ว่าจะเชิง Sales หรือ PR  การทำการตลาดดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือที่นิยมเรียกย่อๆ ตอนนี้ว่า MarTech (Marketing Technology) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องทำ

3.สายงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จากการที่ปีนี้เป็นปีแห่งการเปิดประเทศของทั้งโลก การท่องเที่ยวแก้แค้น (Revenge Travel) จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และ จะเกิดต่อเนื่องอีกหลายปี ทั้งกลุ่มธุรกิจโรงแรม ทัวร์ สายการบิน ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวจะต้องการคนเข้ามาในอุตสาหกรรมอีกมาก

4.สายงานวิศวกรด้านพลังงานสะอาด สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน  ตามกระแสที่ในหลายๆประเทศเริ่มมีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืน ซึ่งหากต้องการไปขายสินค้าที่ยุโรป และ สหรัฐอเมริกา อาจจะต้องแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีการใช้พลังงานสะอาด หรือ ช่วยลดคาร์บอนอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้วิศวกรด้านพลังงานสะอาดสิ่งแวดล้อมจะเข้ามาเติมเต็มในส่วนนี้  ซึ่งล่าสุดมีความต้องการวิศวกรสายเฉพาะอย่างสาขารถยนต์พลังงานไฟฟ้าเข้ามาอย่างมากมายอีกด้วย

5.สายงานโลจิสติกส์  เป็นสายงานที่ใหญ่ กว้าง และ เติบโตมาก เพราะด้วยปริมาณความต้องการงานด้านโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น จากกระแส E-Commerce  และ นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทยที่จะเป็น HUB ในด้านนี้ในภูมิภาคเรา

จาก 5 ตำแหน่งงานยอดฮิต ในฐานะที่เป็นอาจารย์ด้านโลจิสติกส์ ได้ให้ความเห็นเพื่อขยายความเกี่ยวกับอาชีพในสายงานโลจิติกส์ว่า มีอนาคตและยังมีความต้องการด้านกำลังคนอีกมาก เนื่องจากสายงานนี้ยังถือเป็นหนึ่งในห้าอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ที่มีมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ และการลงทุนต่างๆในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

EEC พา “โลจิสติกส์” ก้าวกระโดด 3-4 เท่า   

จากการคาดปี 2566 “ธุรกิจโลจิสติกส์” ของประเทศไทยจะเติบโตมากขึ้น แม้จะมีปัจจัยด้านความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ค่าเงินเฟ้อ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงมากขึ้น  รวมถึงปัจจัยบวกภายในประเทศคือ การเติบโตของตลาด E-commerce ที่คนไทยคุ้นเคยและใช้บริการเพิ่มสูงขึ้น  นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเปิดประเทศที่มีนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศมากขึ้นอีกด้วย

ในระยะยาวธุรกิจโลจิสติกส์ประเทศไทยน่าจะเติบโตได้แบบก้าวกระโดด 3-4 เท่า  เพราะตามแผนปฎิบัติการด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยของสภาพัฒน์ในปี 2566-2570  จะมีการทำโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งใน EEC และทั่วประเทศ เช่น รถไฟรางคู่ สนามบินอู่ตะเภา และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่่งต่อเนื่่องจากแผนยุุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ฉบัับที่่ 3 ในปี 2560-2565 ตามกรอบแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ระยะ 20 ปี ประเทศไทยมีโอกาสเป็นศูนย์กลางหรือประตูของอาเซียนในด้านโลจิสติกส์

“มันไปได้อีกสามารถโตได้ 3-4 เท่า เพราะด้วยตัวโครงสร้างพื้นฐานที่ดี  ขนาดว่าปีสองปีที่ผ่านมาเจอโควิด แต่ Sector นี้ก็ยังโตแม้โครงสร้างพื้นฐานเรายังไม่เรียบร้อยด้วยซ้ำ ซึ่งระยะยาว ไทยมียุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องปรับลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ลงจากเดิม 13 – 14% ต่อ GDP ตามรายงานโลจิสติกส์ของสภาพัฒน์ ให้ต่ำกว่า 10 %” ดร.ไอซ์ เผยทิศทางอนาคตของธุรกิจโลจิสติกส์

 ซึ่งในด้านที่ “ผู้ประกอบการ” ทางด้านโลจิสติกส์ควรเตรียมพร้อมและรับมือเพื่อสอดรับการเจริญเติบโตและก้าวขึ้นยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต คือ การนำระบบสารสนเทศ (IT) เข้ามาช่วยในเรื่องของการจัดการธุรกิจเพื่อลดต้นทุนและสร้างสภาพคล่องรวมไปถึงกำไรที่เพิ่มมากขึ้นตาม

“สิ่งที่อยากจะฝากไว้สำหรับผู้ประกอบที่มีการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ อาจจะเป็น Scale ที่เล็กลงมา คือ อยากให้นำ IT เข้ามาช่วยในเรื่องของการจัดการโลติสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Transportation Management System (ระบบช่วยด้านการขนส่ง) Warehouse Management System (ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง) และ Enterprise Resource Planning (ระบบการจัดการทรัพยากรองค์กร) เพื่อช่วยจัดการด้านการปฏิบัติการ ด้านข้อมูล และการบริการลูกค้า จะช่วยให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการและประเทศลดลงได้อีกทางหนึ่ง ทั้งต้นทุน และกำไร ก็จะสัมพันธ์กันไปในทางที่ดีหมด” ดร.ไอซ์ ทิ้งท้าย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *