24 ตุลาคม 2024

โดนอีกดอก! กลุ่มแพทย์และภาคประชาชนลงชื่อถึง ‘นักการเมือง-สื่อ-ปชช.’ จี้ถาม บิ๊ก สธ.นโยบายกัญชา

0

เฟซบุ๊ก “ชมรมแพทย์ชนบท” ได้โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 10 เมษายน เกี่ยวกับเรื่องนโยบายกัญชาที่ใช้หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีใจความว่า คำถามจากคณาจารย์แพทย์ ถึง ปชช สื่อ และนักการเมือง ว่าด้วยนโยบายเกี่ยวกับกัญชา ในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ครับ ให้ถามข้าราชการระดับสูง ในกระทรวงสาธารณสุข

“คำถามเกี่ยวกับนโยบายกัญชาที่สื่อมวลชนและประชาชนควรถามผู้เกี่ยวข้อง ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566”

ความจริงเกี่ยวกับนโยบายกัญชาและผลกระทบจากนโยบาย เป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญที่ประชาชนควรรู้ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค. 2566

หลังจากยุบสภา ข้าราชการประจำกระทรวงสาธารณสุขอาจสามารถให้ความจริงได้มากขึ้น สื่อมวลชนและประชาชนควรตั้งคำถามกับข้าราชการระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อย. อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก อธิบดีกรมสุขภาพจิต และอธิบดีกรมการแพทย์ ดังเช่นคำถามต่อไปนี้ และผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ควรให้ข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อไม่ให้ต้องสุ่มเสี่ยงกับการถูกฟ้อง ม.157 ในฐานะละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่

1.สถานการณ์ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติเนื่องจากได้รับกัญชา (ทั้งในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้ป่วยเด็ก) และสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวช (ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตที่มีการใช้กัญชาร่วมด้วย ผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติด (รายชนิดสารเสพติด)) รายเดือนทั่วประเทศ เปรียบเทียบก่อนและหลังการปลดกัญชาเสรี (วันที่ 9 มิ.ย. 2565) ตามความเป็นจริงเป็นอย่างไร?

2.อย. ซึ่งโดยปกติมีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพ (regulator) ได้ดำเนินกิจกรรมใดบ้าง ในบทบาทผู้ควบคุมกัญชา (cannabis regulator) และ ผู้ส่งเสริมกัญชา (cannabis promotor)?

3.กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรุณาชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในระบบบริการสาธารณสุขหมดอายุจำนวนมาก เนื่องจากแพทย์ไม่ต้องการสั่งจ่ายให้ผู้ป่วย เนื่องจากไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ของประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย จนต่อมากระทรวงสาธารณสุขตัดสินใจกำหนดดัชนีชี้วัดความสำเร็จของโรงพยาบาลว่าต้องให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้รับยากัญชาในจำนวนไม่น้อยกว่า 5% ให้ได้ โดยไม่คำนึงว่าแพทย์จะเห็นว่าสมควรจ่ายยากัญชาให้ผู้ป่วยหรือไม่

4.กรณีการปลดกัญชาเสรีด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565
i. เหตุใดเห็ดขี้ควายยังถูกกำหนดให้เป็นยาเสพติดในประเภท 5 ขณะที่พืชกัญชาไม่ถูกกำหนดให้เป็นยาเสพติดประเภท 5 ทั้งๆที่พืชเสพติดทั้งสองชนิดไม่ได้ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด?
ii. เหตุใดกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% เป็นยาเสพติด แต่กลับปลดดอกกัญชาจากการเป็นยาเสพติด ทั้งๆที่ดอกกัญชามีระดับ THC โดยเฉลี่ยสูงถึง 10-12%?
iii. มติคณะกรรมการ ป.ป.ส. วันที่ 25 ม.ค. 2565 กำหนดให้ชะลอการบังคับใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาเสรีเป็นเวลา 120 วัน เพื่อรอให้มีกฎหมายกัญชาออกมาบังคับใช้ก่อน และให้เลื่อนการบังคับใช้การปลดกัญชาเสรีออกไปก่อน หากยังไม่มีกฎหมายกัญชาออกมาบังคับใช้ เหตุใดกระทรวงสาธารณสุขจึงฝ่าฝืนมตินี้ โดยเดินหน้าปลดกัญชาเสรีในวันที่ 9 มิ.ย. 2565?
iv. ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ดอกและยางกัญชาถูกจัดให้อยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 โดยยาเสพติดประเภทที่ 1 นี้ อนุญาตให้ใช้เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ แต่ห้ามใช้เพื่อความบันเทิง การปลดกัญชาเสรีโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขนี้เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดหรือไม่? ใครเป็นผู้รับผิดชอบหากประเทศไทยถูกลงโทษตามข้อตกลงระหว่างประเทศ?

คำถามเกี่ยวกับนโยบายกัญชาเพิ่มเติมที่สื่อมวลชนและประชาชนควรสอบถามนักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นการเฉพาะ ได้แก่

1.หากพรรคการเมืองของท่านมีโอกาสเป็นรัฐมนตรีว่าการหรือช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ใครคือบุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของพรรคท่าน

2.หากพรรคของท่านได้เป็นรัฐมนตรีว่าการหรือช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านจะผลักดันนโยบายกัญชาทางการแพทย์หรือกัญชาเพื่อนันทนาการ (หากตอบว่าจะผลักดันนโยบายกัญชาเพื่อนันทนาการ ไม่ต้องถามต่อ)

3.หากพรรคท่านจะผลักดันโยบายกัญชาทางการแพทย์ โดยไม่ต้องการกัญชาเพื่อนันทนาการ คำถามย่อยคือ
i. ท่านจะยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 พ.ศ. 2565 (ฉบับปลดพืชกัญชาจากการเป็นยาเสพติด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ) แล้วกลับไปใช้ประกาศฉบับ พ.ศ. 2562 (ฉบับปลด CBD ที่มี THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2% จากการเป็นยาเสพติด) หรือไม่? (หมายเหตุ – การทำเช่นนี้ จะทำให้กัญชาที่สามารถใช้เพื่อความบันเทิงได้ยุติลงทันที และกลับไปเป็นกัญชาทางการแพทย์ดังเดิม ที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้)
ii. ท่านจะให้การสั่งจ่ายกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการแพทย์อยู่ในการควบคุมของแพทย์หรือไม่ (ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย หรือ หมอพื้นบ้าน)?
iii. ท่านคิดว่าการผลักดันกัญชาเพื่อเศรษฐกิจควรเป็นบทบาทของกระทรวงสาธารณสุขหรือของกระทรวงอื่น? ท่านคิดว่ากระทรวงสาธารณสุขควรเป็นผู้ควบคุม (regulator) หรือ ผู้ส่งเสริม (promotor) กัญชา?

ลงชื่อ เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด
9 เมษายน 2566

  1. นพ.ชาตรี บานชื่น
    อดีตกรรมการแพทยสภา อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ
    อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  2. นายนิยม เติมศรีสุข
    อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส. และ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม
  3. นายเพิ่มพงษ์ เขาวลิต
    อดีตเลขาธิการ ป.ป.ส.
  4. ดร.วิโรจน์ สุ่มใหญ่
    ที่ปรึกษาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ สหประชาชาติ
  5. นางทิชา ณ นคร
    ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก
  6. ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล
    นักวิทยาศาสตร์ Centre for Addiction and Mental Health, Canada
  7. รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
    ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กุมารแพทย์ผู้เชียวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น
    และ ผู้จัดการโครงการต้นทุนชีวิต ประเทศไทย
  8. ศ.นพ.มานิต ศรีสุรภานนท์
    ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  9. ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์
    ศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  10. พล.ต.นพ.พิชัย แสงชาญชัย
    ประธานชมรมจิตเวชศาสตร์การเสพติดแห่งประเทศไทย
  11. รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์
    รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์
    มหาวิทยาลัยมหิดล
  12. ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์
    นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย
  13. ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ
    อายุรแพทย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  14. ผศ.ดร.อุษณีย์ พึ่งปาน
    ที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  15. ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร
    หน่วยวิชาการบ่มเพาะเครือข่ายนักจัดการปัจจัยเสี่ยง
  16. นายไฟซ้อน บุญรอด
    ประธานเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันภัยยาเสพติด
  17. นายวัชรพงศ์ พุ่มชื่น
    นักพัฒนางานวิชาการ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ
  18. นพ.ไพศาล ปัณฑุกำพล
    สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนนี
  19. รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์
    สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ อดีตประธานราชวิทยาลัยศัลยศาสตร์
  20. นพ.วิทยา จารุพูนผล
    ข้าราชการบำนาญ รพ.ขอนเก่น
  21. ศ. คลินิก นพ.อภิชาติ ศิวยาธร
    อดีตรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  22. นพ.วิโรจน์ เยาวพลกุล
    แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  23. นพ.วัฒนา สุพรหมจักร
    แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  24. พล.อ.นพ.ชูศักดิ์ สุวรรณศิริกุล
    แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  25. พล.อ.ท.นพ.วิศิษฏ์ ดุสิตนานนท์
    แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  26. นพ.เจริญ ปฏิภาณเทวา
    แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  27. พญ.ภาพิส เสงี่ยมพรพาณิชย์
    ข้าราชการบำนาญ
  28. พญ.อรพินธ์ พจน์พริ้ง
    อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  29. พล.อ.นพ.อิสสระชัย จุลโมกข์
    ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ รพ.บางโพ และอดีตผู้อำนวยการ รพ.พระมงกุฏเกล้าฯ
  30. นพ.พงษ์สันติ์ ลี้สัมพันธ์
    ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพ รพ.หัวเฉียว
  31. นพ.ณัฐกุล แย้มประเสริฐ
    กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ รพ.มหาราชนครราชสีมา
  32. ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม
    อายุรแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ และ รองผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี
  33. นพสรรัตน์ เลอมานุวรรัตน์
    แพทย์เกษียณ จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
  34. นพ.อธิคม สงวนตระกูล
    กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา
  35. พญ.สริฐา มหาศิริมงคล
    นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง
  36. นพ.ปฏิเวช งามวิจิตวงศ์
    นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รพ.กลาง
  37. พญ.วิภัสรา สวัสดี
    นายแพทย์ชำนาญการ รพ.บุรีรัมย์

ภาพ : เฟซบุ๊ก ชมรมแพทย์ชนบท

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *