23 ตุลาคม 2024

ภาพอินเตอร์เน็ต การเลือกตั้งปี 2562

สำหรับหลายคน เลือกตั้งครั้งนี้คิดยากกว่าทุกที

หลายคนชอบแนวคิด ชอบนโยบายแต่ยังลังเลใจ ‘อยากเลือก’ แต่กลัวเสียงแตก สิ่งที่น่ากลัวกว่าเรื่อง ‘เสียงแตก’ ในประชาธิปไตยของไทยเรา

คือ การโหวตเชิงกลยุทธ์

เว็บไซต์ http://electoral-reform.org.uk เคยลงบทความ ‘What is tactical voting and why is it bad for democracy?’ ที่ระบุว่าการโหวตเชิงกลยุทธ์ก่อปัญหาสำคัญขึ้นอย่างหนึ่ง นั่นคือมันอาจทำให้เราตัดสินใจโหวตพรรคหรือคนที่เราไม่ได้ ‘เห็นด้วย’ กับนโยบายของเขาอย่างเต็มที่

จริงอยู่ที่ ‘การโหวตเชิงกลยุทธ์’ ที่เราคิดคำนวณผลลัพธ์สุดท้ายไว้ล่วงหน้าแล้ว อาจจะนำมาซึ่งคำตอบที่เราพอใจในแว่บแรก (ย้ำว่าแว่บแรก) นั่นคือเราได้สกัดกั้นการเข้าสู่อำนาจของ ‘คน’ หรือ ‘พรรค’ ที่เราไม่ชอบไว้ได้ส่วนหนึ่ง แต่ผลข้างเคียง (side effect) ของการไม่เลือกคนที่เราชอบจริง คือเราจะไม่ได้ ‘สะท้อน’ ความต้องการที่แท้จริงของเราออกมาเลย

เมื่อเรา ‘เทคะแนนเสียง’ ของเราไปให้คนหรือพรรคที่เราไม่ได้ชอบที่สุด ผลที่ตามมาคือคนหรือพรรคที่เรา “ชอบมากที่สุด” มีอุดมการณ์ มีจุดยืน และมีความคิดอ่านที่ตรงกับเราที่สุด ก็อาจจะได้คะแนนเสียงน้อยลงอย่างน่าใจหาย – อาจจะน้อยถึงขั้นทำให้ ‘แนวคิดที่ตรงใจเราที่สุด’ ล้มหายไปจากเวทีการเมืองไทยเลยก็ได้

เราต้องยอมรับว่า ผลลัพธ์ระยะสั้นจากการโหวตเชิงกลยุทธ์นั้น จะไม่ใช่เสียงสะท้อนของความต้องการในสังคมจริงๆ และมันก็ไม่ใช่เรื่องดีต่อประชาธิปไตยนัก เพราะมันบ่อนทำลายอุดมการณ์ที่เป็นทางเลือกของคนในสังคม และทำลายพื้นที่ ‘เสียงส่วนน้อย’ ในโลกประชาธิปไตยไปโดยไม่ตั้งใจ สิ่งนี้ทั้งน่าเศร้าและน่ากลัวยิ่งกว่าในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อเสียงที่คุณตัดทิ้งนั้น…เป็นเสียงที่ตรงกับหัวใจของคุณที่สุดด้วย

อย่าเลือกเพราะความกลัว อย่าลังเลที่จะกาพรรคและคนที่คุณเชื่อว่ามีความสามารถที่จะสร้างโอกาส สร้างความเปลี่ยนแปลงได้

อย่าให้สงครามระหว่างพรรคใหญ่ กระแสต่อสู้ที่ดุเดือด มาทำให้เราลังเลในการตัดสินใจเลือกพรรคที่แนวทางและอุดมการณ์ตรงกับเรา พรรคเล็ก ในสังคมประชาธิปไตย คือความหลากหลายและเป็นปัจจัยสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

หนามกุหลาบ

ภาพอินเตอร์เน็ต การเลือกตั้งปี 2562

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *