24 ตุลาคม 2024

ส่งออกไทยเหนื่อย! ติดลบต่อเนื่อง 10 เดือนแล้ว เผย 5 เดือนที่เหลือถือว่าหนัก แต่ยังลุ้นเป้าโต 1-2%

0

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่าการส่งออกกว่า 22,143.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ 6.2% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 เป็นการหดตัวในทุกกลุ่มสินค้า ทั้งสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรม เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นตัวเพราะถูกแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้การผลิตและการบริโภคตึงตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ประกอบกับฐานการส่งออกในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ในระดับสูง

ด้านการนำเข้าช่วงเดือนกรกฎาคม ติดลบร้อยละ 11.1 คิดเป็นมูลค่า 24,121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าในช่วง 7 เดือนแรกของปี ติดลบร้อยละ 4.7 คิดเป็นมูลค่า 171,598.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลทำให้ดุลการค้าในช่วงเดือนกรกฎาคมขาดดุล 1,977.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีการค้ายังคงขาดดุลอยู่ที่ 8,28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และ ความต้องการอาหารทั่วโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรหลายรายการขยายตัวได้ดี เช่น ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักแปรรูป ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ไข่ไก่ และน้ำตาลทราย

ทั้งนี้ ภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรก 2566 (ม.ค.-ก.ค.66) การส่งออกไทยมีมูลค่า 163,313.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังคงติดลบที่ 5.5% แต่ถือว่ายังดีกว่าหลายประเทศ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ อินเดีย และอินโดนีเซียที่ยังคงติดลบมากกว่าไทย

“สำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปี 66 ด้วยปัจจัยในด้านลบของตลาดโลก แม้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและภาคเอกชนจะทำงานอย่างเต็มที แต่จะยังมีความลำบากอยู่พอสมควร โดยจะต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนที่ 24,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงจะทำให้การส่งออกขยายตัวได้ 0% แต่หากจะให้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายทั้งปีที่คาดการณ์ไว้ การส่งออกเฉลี่ยแต่ละเดือนจะต้องอยู่ที่ 25,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าเฉลี่ยการส่งออกต่อเดือนของไทยอยู่ที่ 21,505 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งพาณิชย์จะใช้ความพยายามจากนี้ ร่วมกับภาคเอกชน เพื่อดันเป้าหมายส่งออกให้บวก 1-2%”นายกีรติ กล่าว

อย่างงไรก็ตาม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) ได้ประเมินภาพรวมการส่งออกไปยังตลาดสำคัญยังมีความไม่แน่นอน เพราะยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ดี แม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก อาทิ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และยุโรปจะหดตัว แต่การส่งออกไปตลาดรองส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *