24 ตุลาคม 2024

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราษฏร์ตั้งแต่อายุยังน้อย 17 พรรษา

ทรงเล่าว่าเหมือนตัวคนเดียว เป็นกษัตริย์แต่ไม่มีอำนาจอะไรเลย ญาติข้างพ่อก็โลเลยึดอาศัยไม่ได้ อำนาจทั้งปวงอยู่ที่สมเด็จเจ้าพระยาทั้งสิ้น

เมื่อชันษาครบยี่สิบ ก็ใช่ว่าจะได้ทรงอำนาจโดยสมบูรณ์ เพราะเป็นธรรมเนียมว่าอำนาจสิทธิขาดราชการทั้งปวงอยู่ที่เจ้ากระทรวง เมื่อบริหารครบปีแล้ว เหลือเงินเท่าไดจึงนำทูลเกล้าฯถวายไว้ใช้จ่ายของพระเจ้าแผ่นดิน

แลเจ้ากระทรวงก็ล้วนเป็นคนใน สมเด็จเจ้าพระยาทั้งสิ้น

ความคับแค้นเหล่านี้ คือที่มาของการคิดอ่านตั้งทีมบริหารแผ่นดินโดยใช้คนหนุ่ม คนทันสมัย คนมีความรู้ ค่อยๆ สร้างระบบราชการขี้นมาใหม่

จากที่เหลือกำไรค่อยถวาย กลายเป็นระบบงบประมาณแผ่นดินที่ชัดเจน แผ่นดินมีรายได้เท่าใด ใช้เท่าใด มีแผนใช้อย่างไร พระเจ้าแผ่นดินมีอำนาจสิทธิขาดอย่างไร

เมื่อความชัดเจนปรากฏ การปกครองก็ก้าวหน้า บ้านเมืองเจริญไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะทรงใช้ที่ปรึกษาอย่างกว้างขวาง

แม้กระทั่งกิจการต่างประเทศ ที่คนต่างชาติสงสัยกันนักว่า ทำไมสยามไม่ตกเป็นเมืองขึ้น เหมือนพม่า มาลายู ญวน ลาว เขมร

ทั้งนี้เพราะมีที่ปรึกษาที่ดี ทั้งคนไทยและคนต่างประเทศ

เอิดเวิร์ด สโตรเบล เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาชาวอเมริกัน ที่ช่วยให้สยามไม่เป็นขี้ข้าอ้งกฤษ

ในประวัติศาสตร์ไทย เขียนเรื่องราวของเขาไว้ไม่มาก

แต่ในบันทึกในหนังสือ ดิ อีเลฟเฝน แอนด์ ดิ อีเกิล ของสถานฑูตสหรัฐแล้ว เขาคือ วีรบุรุษแห่งสยาม

สโตรเบล จบการศึกษาจากฮาวาร์ดทางด้านการฑูต เริ่มงานสายการทูตในสเปน ในอเมริกากลางหลายประเทศ เป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย จนมารับงานเป็นตัวแทนประเทศไทยในองค์กรศาลสันติภาพในยุโรป ก่อนจะทรงเลือกมาเป็นที่ปรึกษา ด้านการฑูตของอาณาจักรสยาม

ใน ดิ อีเลฟเฝน แอนด์ ดิ อีเกิล เล่าถึงบันทึกที่เขาเขียนไว้ว่า วันหนึ่งให้เชิญเขาไปเข้าเฝ้าฯ ทรงปรารภถึงอังกฤษที่พยายามจะยึดเอา ปะริด ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ว่าเขาคิดเห็นอย่างไร

เขาในฐานะที่ปรึกษาทางการฑูตจึง ถวายแนวคิดไปว่า มาลายูทั้ง 4 รัฐ มาขึ้นกับสยาม โดยสมัครใจ ไม่ได้ใช้กำลังยีดครอง ทั้งนี้เพราะเจ้าทั้งสี่ จะได้เอาสยามไปอ้างกับพวกอ้งกฤษที่มาทำธุรกิจว่าต้องจ่ายค่าภาษี เพื่อส่งเงินให้สยามเป็นค่าคุ้มครอง พวกอังกฤษเกรงใจสยามก็จ่ายให้

เมื่อถึงวันหนึ่งอังกฤษจะใช้กำลังยึดครอง ต้องประเมินฝ่ายเราว่าคุ้มค่าหรือไม่ ชาวมาลายูไม่ใช่คนไทย อยู่ไกลเกินจะส่งทหารไปสู้รบ ผลประโยชน์ที่ได้แทบไม่มี นอกจากดอกไม้เงินทองตามจารีต รบพุ่งกับอังกฤษ โอกาสชนะก็น้อย ชนะก็ไม่ได้อะไร

เมื่อโอกาสเสียดินแดนสูงก็ต้องควรเจรจากับอังกฤษให้ได้ประโยชน์สูงสุด ว่าถ้าไม่รบกัน อังกฤษได้ 4 รัฐ แล้วสยามได้อะไร

ทรงเห็นด้วย อนุญาตให้ สโตรเบล เป็นตัวแทนสยามไปเจรจากับอังกฤษ จนได้ข้อยุติ

สยามยก 4 รัฐให้อังกฤษ โดยไม่ต้องรบกัน แต่อังกฤษต้องให้สยามกู้เงินสร้างทางรถไปจากกรุงเทพถึงนราธิวาส

อังกฤษ คิดหนัก ถ้ารบต้องใช่ทั้งคนทั้งเงิน แบบท่านทูตว่า ให้ยืม ก็ไม่เสียทั้งคนทั้งเงิน จึงยอมตกลง

ส่วนสยาม เสียมาลายู ซึ่งก็ไม่ใช่ของตัวเอง แต่ได้ทางรถไฟ เอาไปประกาศความเป็นเจ้าของประเทศ มีแต่ได้กับได้

ทรงพอพระทัยมาก จะตั้งสโตรเบลเป็นพระยา แกก็ไม่เอา ขอเป็นคนอเมริกันตามเดิม พวกอังกฤษ ฝรั่งเศสจะได้เกรงใจ

บั้นปลายชีวิต แกป่วยตายในเมืองไทย ทรงให้จัดงานศพเทียบชั้นพระยา

ทัดเทียม เยี่ยมนคร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *